การออกแบบตกแต่งห้องทำงาน

ห้องทำงาน เป็นห้องกึ่งส่วนตัวที่ผู้อยู่อาศัยในบ้านอาจจะใช้ร่วมกัน เช่น พ่อ-แม่ และลูก โดยต่างคนต่างมีพื้นที่แยกมุมกัน หรือจะเป็นห้องทำงานของพ่อ-แม่ ที่นั่งใจทำงานจริงจังที่บ้าน โดย ปราศจากการรบกวนของลูก ห้องทำงานโดยทั่วไปจะเป็นการทำงานแบบนั่งโต๊ะเก้าอี้ ส่วนการทำงาน เฉพาะทางจะต้องมีการจัดห้องเป็นพิเศษตามสาขาการปฏิบัติวิชาชีพของเจ้าของบ้านนั่น ๆในบริเวณที่นั่งทำงานที่ต้องใช้สายตาอ่านหนังสือ จะต้องมีความ เข้มของแสงเพียงพอ คือ มีประมาณความส่องสว่าง 500 – 700 ลักซ์ และตำแหน่งโคมไฟไม่ส่องด้านหลังคนนั่ง จะเกิดการบังเงาด้านหน้าพื้นที่โต๊ะทำงาน ส่วนบริเวณที่นั่งพักผ่อนสายตา อาจลดความเข้มของแสงลง หรือใช้ หลอดไฟชนิดที่ปรับความสว่างได้ การใช้แสงสว่างธรรมชาติจากช่องเปิดได้ในเวลากลางวัน จะต้องมี การป้องกันความจ้าของแสงแดดจากภายนอกรบกวนสายตา จึงควรจัดทิศทาง ให้แสงแดดเข้ามาจากทางด้านข้าง โดยเฉพาะด้านซ้ายของที่นั่งทำงาน สำหรับ คนส่วนใหญ่ที่ถนัดขวาเพื่อให้สบายตา ไม่ควรจัดให้โต๊ะทำงานหันไปทางหน้าต่างด้านที่มีแสงแดดจ้า หลอดไฟที่เหมาะกับการอ่าน ควรใช้หลอดอินแคนเดสเซนต์หรือหลอดไส้ และหลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่สีของแสงใกล้เคียงแสงธรรมชาติ เพื่อให้มองสีวัตถุใกล้เคียงสีจริง และสบายตา และคำนึงถึงความเข้มแสงระหว่างพื้นที่ทำงานกับบริเวณข้างเคียง รอบพื้นที่ทำงานไม่ควรส่องสว่างน้อยกว่า 1/3 ของความส่องสว่างที่โต๊ะทำงานอีกด้วย

การกำหนดทิศทางของแสงและอากาศภายในตัวบ้าน

การกำหนดทิศทางของแสงและอากาศในตัวบ้านนั้น สถานที่ทุกแห่งจะต้องจัดให้มีลมพัดผ่านและอากาศถ่ายเทได้ สะดวก มีแสงสว่างที่เหมาะสมพอดี ซึ่งการการกำหนดทิศทางของแสงและอากาศในตัวบ้านนี้สิ่งที่จะขาดไม่ได้ก็คือการกำหนดแปลนเฟอร์นิเจอร์ที่จะต้องต้องคำนึงถึงช่องหนำต่างประตู ช่องลม ช่องแสงสว่างต่าง ๆสามารถใช้ประโยชน์ของส่วนเหล่านี้ได้เต็มที่ ควรนำประโยชน์ส่วนนี้มาใช้ให้มากที่สุด เช่น ห้องเขียนหนังสือต้องจัดโต๊ะไว้ริมหนำต่าง เพื่ออาศัยแสงสว่างและจัดให้แสงเข้าทางด้านซ้ายของโต๊ะ จึงถูกทิศทางของแสง ห้องครัวต้องจัดให้มีทางระบายอากาศได้รวดเร็วสะดวก และมีแสงสว่างพอเหมาะกับการทำงาน หรือภายในห้องนอน จำเป็นต้องมีทางระบายอากาศได้อย่างดี เพื่อความสดขื่นของผู้อยู่อาศัยและในปัจจุบันสภาพแวดล้อมด้านอากาศมีปัญหามากเรื่องมลภาวะ จึงมีการแก้ไขปัญหาด้วยการทำที่อยู่ อาศัยให้สะดวกสบาย ใดยการใช้เครื่องปรับอากาศกันมาก ซึ่งทำให้คำนึงถึงแสงและอากาศธรรมชาติกันน้อยลง อย่างไรก็ตามแสงและอากาศก็ยังคงเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องใช้ประโยชน์มาก ถ้าสามารถนำมาใช้ร่วมกับงานออกแบบ เชิงสร้างสรรค์ได้ จะทำให้การอยู่อาศัยนั้นมีธรรมชาติเข้าไปเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความสุขที่เป็นธรรมชาติสมบูรณ์ขึ้น

การจัดห้องครัวตอนที่ 4

นี่เป็นบทความตอนสุดท้ายในเรื่องของการจัดห้องครัว ซึ่งเป็นตอนที่ 4 ดังนั้นถ้ายังไม่ได้อ่านบทความเรื่อง การจัดห้องครัวตอนที่ 1 ตอนที่ 2 และตอนที่ 3 นั้นผู้เขียนก็แนะนำให้กลับไปอ่านให้ครบก่อนเพื่อจะได้มีความเข้าใจในเนื้อหาของบทนี้อย่างถูกต้อง ตู้เย็น ถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับห้องครัว ซึ่งการจัดวางตู้เย็นต้องสะดวกสำหรับการใช้งานได้ตลอดเวลา และควรวางให้ห่างจากส่วนที่จะได้รับความร้อน เช่นทางต้านที่มีแดดส่องตลอดเวลาหรือวางใกล้เตาไฟ และควรวางให้ห่างจากผนังอย่างน้อยประมาณ 0.10 เมตร เพราะความร้อนที่ต้านหลังตู้เย็นจะได้สามารถระบายออกได้อย่างรวดเร็ว ตู้เก็บของใช้ในห้องครัวเป็นตู้ที่มีความจำเป็นมาก เพราะของใช้ในครัวมีมากมายทั้งชิ้นเล็กและ ชิ้นใหญ่ การจัดเก็บต้องให้มีระเบียบและหยิบใช้ได้สะดวก จัดเป็นหมวดเป็นกลุ่มของการใช้งาน ของใช้ในห้องครัว เช่น หม้อช้าว หม้อแกง กระทะ กะละมัง ช้อน ล้อม มีด ถ้วย ขาม ฯลฯ ขนาดของตู้ควรเป็นขนาดที่สามารถเก็บของได้มีดชิดและเหมาะสมกับขนาดสิ่งของเช่น มีที่แขวนหม้อและกระทะ มีที่คว่ำถ้วยขาม ที่เก็บมีด ที่เก็บช้อน และล้อม ที่สามารถหยิบใช้ได้สะดวก ที่เก็บอาหารแห้งต้องทำตู้ที่ระบายอากาศได้ และ การจัดทำหรือออกแบบตู้เก็บของใช้ในครัว อาจทำในลักษณะเป็นทั้งที่เก็บของใช้และพักวางของบนหลัง ตู้ และใช้เป็นที่จัดเตรียมอาหารได้ด้วย ใดยมีตู้เตี้ยสำหรับเก็บของชิ้นใหญ่ และตู้ลอยสำหรับเก็บของชิ้นเล็ก ๆรวม ทั้งมีที่เก็บอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว เนื่องจากห้องครัวเป็นสถานที่ปรุงอาหาร … Read moreการจัดห้องครัวตอนที่ 4